หัวข้อ   “ ปรับ ครม.พล.อ.ประยุทธ์ ฟื้นความเชื่อมั่นประชาชน
ประชาชนส่วนใหญ่ 59.8% เห็นด้วยกับการปรับ ครม. โดย 74.4% อยากให้ปรับกระทรวงด้านเศรษฐกิจมากที่สุด
79.6% เชื่อจะช่วยให้รัฐบาลทำงานได้ดีขึ้น
และ 64.7% เชื่อมั่นว่าปรับ ครม. จะช่วยให้ปฏิรูปประเทศสำเร็จได้เร็วขึ้น
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สำรวจ
ความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ปรับ ครม.พล.อ.ประยุทธ์ ฟื้นความเชื่อมั่นประชาชน”
โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,111 คน พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 59.8 เห็นด้วยหากรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
จะมีการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพราะเริ่มไม่เชื่อมั่นในความสามารถของ
ครม. ชุดปัจจุบัน
ขณะที่ร้อยละ 24.3 ไม่เห็นด้วย เพราะ ครม. ชุดปัจจุบันยังทำงาน
ได้ดีอยู่ ส่วนที่เหลือ ร้อยละ 15.9 ไม่แน่ใจ
 
                  เมื่อถามต่อว่าหากมีการปรับ ครม. จริงอยากให้มีการปรับอย่างไร
ส่วนใหญ่ร้อยละ 67.7 อยากให้ปรับเฉพาะกระทรวงที่ผลงานไม่เข้าเป้า
รองลงมา
ร้อยละ 24.0 อยากให้ปรับใหญ่หลายๆ กระทรวง ส่วนที่เหลือร้อยละ 8.3 ไม่แน่ใจ
 
                 โดยประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 74.4 ต้องการให้ปรับกระทรวง
ด้านเศรษฐกิจมากที่สุด
รองลงมาเป็นกระทรวงด้านสังคมและคุณภาพชีวิต (ร้อยละ 38.6)
และกระทรวงด้านการบริหารจัดการและการบังคับใช้กฎหมาย (ร้อยละ 26.6)
 
                 เมื่อถามว่า “หากมีการปรับ ครม. จริง อยากได้คนที่มีความรู้ มีความสามารถ จากกลุ่มใดมาช่วย
รัฐบาลบริหารประเทศ” ส่วนใหญ่ร้อยละ 45.2 อยากได้คนจากภาคเอกชน
รองลงมาร้อยละ 20.2 อยากได้คนจาก
พรรคการเมืองใหญ่ ทั้งเพื่อไทยและประชาธิปัตย์ และร้อยละ 17.0 อยากได้คนจากกลุ่ม บ้าน 111 ที่ไม่ได้สังกัดพรรค เช่น
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย ส่วนร้อยละ 17.6 ไม่แน่ใจ
 
                 ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 79.6 เห็นว่าหากมีการปรับ ครม. จริงจะทำให้ทิศทางการทำงาน
ของรัฐบาลดีขึ้น
ขณะที่ร้อยละ 6.3 เห็นว่าจะยังเหมือนเดิม และร้อยละ 1.3 เห็นว่าจะแย่ลง
 
                 นอกจากนี้ประชาชนมากถึงร้อยละ 64.7 ยังเชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุดว่า การปรับ ครม. จะช่วย
ทำให้การปฏิรูปประเทศสำเร็จเร็วยิ่งขึ้น ขณะที่ร้อยละ 16.4 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. ข้อคำถาม “เห็นด้วยหรือไม่ หากรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะมีการปรับคณะรัฐมนตรี
                   (ครม.)”

 
ร้อยละ
เห็นด้วย เพราะเริ่มไม่เชื่อมั่นในความสามารถของ ครม. ชุดปัจจุบัน
59.8
ไม่เห็นด้วย เพราะ ครม. ชุดปัจจุบันยังทำงานได้ดีอยู่
24.3
ไม่แน่ใจ
15.9
 
 
             2. ข้อคำถาม “หากมีการปรับ ครม. จริง ท่านอยากให้มีการปรับอย่างไร”

 
ร้อยละ
อยากให้ปรับเฉพาะกระทรวงที่ผลงานไม่เข้าเป้า
67.7
อยากให้ปรับใหญ่หลายๆ กระทรวง
24.0
ไม่แน่ใจ
8.3
 
 
             3. ข้อคำถาม “หากมีการปรับ ครม. จริง ท่านอยากให้ปรับกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับด้านใดมากที่สุด”
                
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
ด้านเศรษฐกิจ
74.4
ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต
38.6
ด้านการบริหารจัดการและการบังคับใช้กฎหมาย
26.6
ด้านความมั่นคงของประเทศ
22.3
ด้านการต่างประเทศ
16.6
 
 
             4. ข้อคำถาม “หากมีการปรับ ครม. จริง ท่านอยากได้คนที่มีความรู้ มีความสามารถจากกลุ่มใด
                   มาช่วยรัฐบาลบริหารประเทศ”

 
ร้อยละ
จากกลุ่มภาคเอกชน
45.2
จากพรรคการเมืองใหญ่ ทั้งเพื่อไทยและประชาธิปัตย์
20.2
จากกลุ่ม บ้าน 111 ที่ไม่ได้สังกัดพรรค เช่น นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย
17.0
ไม่แน่ใจ
17.6
 
 
             5. ข้อคำถาม “หากมีการปรับ ครม. จริง จะทำให้ทิศทางการทำงานของรัฐบาลเป็นอย่างไร”

 
ร้อยละ
ดีขึ้น
79.6
เหมือนเดิม
6.3
แย่ลง
1.3
ไม่แน่ใจ
12.8
 
 
             6. ข้อคำถาม “เชื่อมั่นมากน้อยเพียงว่า การปรับ ครม. จะช่วยทำให้การปฏิรูปประเทศสำเร็จเร็วยิ่งขึ้น”

 
ร้อยละ
เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นเชื่อมั่นค่อนข้างมากร้อยละ 54.3 และเชื่อมั่นมากที่สุดร้อยละ 10.4)
64.7
เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นเชื่อมั่นค่อนข้างน้อยร้อยละ 12.1 และเชื่อมั่นน้อยที่สุดร้อยละ 4.3)
16.4
ไม่แน่ใจ
18.9
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                 - เพื่อสะท้อนความเห็นต่อการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการ
ถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 21-22 กรกฎาคม 2558
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 23 กรกฎาคม 2558
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
582
52.4
             หญิง
529
47.6
รวม
1,111
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
177
15.9
             31 – 40 ปี
253
22.8
             41 – 50 ปี
290
26.1
             51 – 60 ปี
262
23.6
             61 ปีขึ้นไป
129
11.6
รวม
1,111
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
753
67.7
             ปริญญาตรี
293
26.4
             สูงกว่าปริญญาตรี
65
5.9
รวม
1,111
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
156
14.0
             ลูกจ้างเอกชน
246
22.2
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว
467
42.0
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
59
5.3
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
1
0.1
             นักเรียน/ นักศึกษา
131
11.8
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
38
3.4
             เกษตรกร
13
1.2
รวม
1,111
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776